วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 14 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556

         ความรู้ที่ได้รับ   คณิตศาสตร์ หมายถึง ระบบการคิดของมนุษย์ อย่างมีเหตุผล เพื่อศึกษา และอธิบายความสำพันธ์ ของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ โดยใช้สัญลักษณ์ืการพูด การเขียน และการเรียนรู้ 

       
ความสำคัญของคณิตศาสตร์  

                1. เกี่ยวข้อง และสำพันธ์กับชีวิตประจำวัน
                2.ส่งเสริมกระบวนการคิด และแก้ปัญหา โดยเฉพาะหลักการทางคณิตศาสตร์
                3. เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงาน และประเมินผล
                4. เป็นพื้นฐาน ในการเรียนรู้ในวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ และ                                     เทคโนโลยี 


ทฤษฎีสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ตามความคิดของเพียร์เจต์

1. ขั้นพัฒนาด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage)  แรกเกิน - 2ปี
                          >> เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
                          >> สามารถจดจำสิ่งต่างๆ บอกลักษณะของวัตถุได้

2. ขั้นเตรียมการคิดที่มีเหตุผล  (Preoperational Stage)  2-7 ปี
                          >> ใช้ภาษาพูด แสดงความรู้ความคิด 
                          >> เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง และความยาว 
                          >> เล่นบทบาทสมมุติ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความเข้าใจ
          ในสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น จำนวน ตัวเลข ตัวอักษร คำที่มีความหมาย 
                          >> เด็กจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกต และรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด 
                          >> ไม่สามารถคงความคิดสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพกายภาพ                                                    เปลี่ยนแปลง เด็กก็ไม่สามารถ สั่งสมความคิดไว้ได้ 
                         


< การอนุรักษ์ Conservation >

เด็กสามารถพัฒนา การอนุรักษ์ได้โดย
                                                             - การนับ
                                                             - การจับคู่ หนึ่ง ต่อ หนึ่ง 
                                                             - การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร 
                                                             - เรียงลำดับ 
                                                             - จัดกลุ่ม

                                                             - เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย
                                                             - ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ 
                                                             - ใช้คำถามปลายเปิด 
                                                             - เชื่อมโยงคณิตศาสตร์ ในชีวิตประจำวัน

                   กิจกรรมในวันนี้ คือ ให้นักศึกษา วาดภาพสัตว์ ที่มีขาหลายๆขา จากนั้นก็ให้ใส่รองเท้าให้สัตว์ที่ตนเองวาด โดยตัดกระดาษสีทำเป็นรองเท้าแล้วแปะลงตรงส่วนที่เป็นเท้า
                   สำหรับกิจกรรมนี้ เด็กจะได้ฝึกการนับจำนวนขา ได้จับคู่ โดยการติดรองเท้า ได้รู้จักรูปร่าง รูปทรง ซึ่งเด็กจะได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ไปกับการทำกิจกรรม โดยที่เขาไม่รู้ตัว และสามาบูรณาการ สอนเกี่ยวกับเรื่องสัตว์ ได้ฝึกทักษะด้านศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ การวาดภาพ ระบายสี และตัดแปะ  พัฒนาด้านอารมณ์ เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กสนุกสนาน พัฒนาการด้านสังคม คือเด็กจะได้มีปฏิสัมพันธ์ พูดคุยกับเพื่อนๆ และครู

ดิฉันจึงวาดภาพตะขาบ มี 32 ขา





การนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ 

                  การสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ไม่ใช่การเขียนบนกระดาน  เช่น  1 +1 = 2 
เพราะเด็กจะเข้าใจจากสิ่งที่เขาเห็น การเรียนรู้ที่ดีจึงควรให้เด็กได้ทดลอง และสัมผัสจริง เช่น 

การดูปริมาณน้ำของแก้วน้ำ 2 ใบ  ให้เด็กได้ทดลอง เทน้ำเอง 


                           


 การนับจำนวนก้อนหิน  นำก้อนหินจริงๆ มาให้เด็กนับจำนวน

 


                 ซึ่งคำถามของครู จะต้องเป็นคำถามปลายเปิด เช่น "หนูเห็นอะไรจากแก้วน้ำ 2 ใบนี้"  ซึ่งคำตอบของเด็ก ไม่มีผิด  แต่ถ้าครูถามว่า "แก้วน้ำใบไหนมีน้ำมากกว่า" ซึ่งเป็นคำถามปลายปิด จะทำให้เด็กขาดกระบวนการคิด เกิดความไม่แน่ใจในการตอบ  และถ้าเขาตอบผิด เขาก็จะไม่กล้าแสดงความคิด ในการตอบคำถาม หรือเป็นเด็กที่ขาดความมั่นใจ 







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น