วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6

วัน พฤหัสบดี ที่ 12 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556

    ความรู้ที่ได้รับ   คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย 
                            1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
                                - นับจำนวน 1-20 ได้ 
                               - เข้าใจหลักการ การนับ
                               - รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิค และเลขไทย
                               - รู้จักค่าของจำนวน เงิน 
                               - สามารถเปรียบเทียบเรียงลำดับ ได้
                               - รู้จักการรวม และการแยกกลุ่ม
                           2. มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก 
                               ปริมาตร   เงิน และเวลา                                                                            - การเปรียบเทียบเรียงลำดับ และวัดความยาว                                                     น้ำหนัก ปริมาตร                                                                                      - รู้จัก เงิน เหรียญ และธนบัตร                                                                       - เข้าใจเกี่ยวกับเวลา และคำที่ใช้บอกช่วงเวลา เช่น เช้า                                     สาย บ่าย  เย็น ค่ำ หรือ บอกกลางวัน กลางคืน 

                           3. มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต 
                              - ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง 
                              - รูปเรขาคณิต สามมิติ และรูปเรขาคณิต สองมิติ
                           4. มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูป ที่มีรูปร่าง ขนาด สี 
                               ที่สัมพันธ์อย่างใด อย่างหนึ่ง 
                           5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูล ในรูปแบบ 
                              แผนภูมิอย่างง่าย 
                           6. มีทักษะ และกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็น 

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ (Number and Operations)

                          ใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ  การอ่าน และการเขียน
            ตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย การเปรียบเทียบจำนวน การเรียงลำดับ  จำนวน การคิด และการแยกกลุ่ม 


จากภาพ เด็ก สามารถบอกได้ถึงจำนวนของตุ๊กตาหมี และตุ๊กตากระต่าย ว่าไม่เท่ากัน 


จากภาพ เด็กสามารถบอกจำนวนของตุ๊กตาหมี และตุ๊กตากระต่ายที่วางรวมกันได้ 

สาระที่ 2 การวัด(Measurement)

                           เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

                   จากภาพการตวงเพื่อวัดปริมาตร การชั่งของเด็กจะไม่มีหน่วย แต่เป็นการเปรียบเทียบความหนัก หรือความเบาได้  รู้จักค่าของเงินเหรียญ และธนบัตร  บอกช่วงเวลาในแต่ละวัน  , ชื่อวันในสัปดาห์ และคำที่ใช่บอกเกี่ยวกับวัน  เช่น วันนี้ , พรุ่งนี้ ,  เมื่อวานนี้  เป็นต้น 

สาระที่ 3 เรขาคณิต (Geometry)

                           รู้จักการใช้คำศัพท์ ในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
   รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิต ที่เกิดขึ้นจากการกระทำ


รูปร่างสามมิติ 


การเปลี่ยนแปลง >> การพับครึ่ง 



การรวม >> เกิดจากการนำมาต่อกัน 


เด็กเข้าใจได้ว่า เป็นภาพที่ซ้อนกัน 

สาระที่ 4 พีชคณิต (Algebra)

                           เข้าใจแบบรูป และความสัมพันธ์ 
               แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง


ความสัมพันธ์กัน ระหว่างวงกลม สีชมพู และสีฟ้า  เป็นการจัดวางสลับสี เพื่อหาความสัมพันธ์




เด็กสามารถเข้าใจ สิ่งที่สัมพันธ์กัน ได้ 

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น (Data Analysis and Probability)

                         รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
เช่น ในห้องเรียน มีนักเรียนชาย กี่คน มีนักเรียนหญิงกี่คน ,หนูมีตากี่ดวง , หนูกับเพื่อนมีขารวมกันกี่ขา เป็นต้น 

สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 

                       มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ 


ผลงาน น้องแมวเหมียวแป้นแล้น หน้ากล๊มกลม ^^






การนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ 

          สามารถจัดกิจกรรม ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ให้กับเด็กปฐมวัย เช่น กิจกรรมในวันนี้ คือ การนำรูปทรงเรขาคณิต มาสร้างสรรค์ เป็นภาพสัตว์น่ารักๆ ตามจินตนาการของเด็กๆ        เด็กได้รู้จัก รูปทรงต่างๆ สีและขนาด ของรูปทรง  ความเข้าใจในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความสัมพันธ์ กับพัฒนาการทางความคิดของเด็กปฐมวัย เด็กได้้เรียนรู้คณิตศาสตร์ไปพร้อมกับการเล่น การทำกิจกรรม เพื่อเป็นการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ










วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5 

วันพฤหัสบดีที่ 5 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็น  "วันพ่อแห่งชาติ "




วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 4



บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดี ที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556

ความรู้ที่ได้รับ วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา แต่ละกลุ่ม ออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน

กลุ่มที่ 1 นำเสนอ เรื่อง จำนวน และการดำเนินการ

จำนวน    หมายถึง    ปริมาณของสิ่งของต่างๆ จำนวนสามารถแสดงได้ด้วยตัวเลข รูปภาพ   หรือสัญลักษณ์
การดำเนินการ    หมายถึง   การกระทำ หรือลำดับขั้นตอน ที่สร้างค่าใหม่ ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์ 
จำนวน และการดำเนินการ   หมายถึง ความคิดรวบยอด และความรู้สึก เชิงจำนวน

คุณภาพ ทางคณิตศาสตร์ ของเด็กอายุ 3-5 ปี 

   1. มีความรู้ความเข้าใจ และมีพัฒนาการด้านความรู้เชิงจำนวน
   2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
      และเวลาสามารถเปรียบเทียบได้
   3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง
      และแสดงของสิ่งต่างๆ
   4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน
   5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูล


ภาพตัวอย่าง กิจกรรม นับจำนวนของดินสอ


เด็กสมารถนับจำนวนดินสอได้ ว่ามีจำนวนกี่แท่ง


เลุ่มที่ 2 นำเสนอ เรื่อง การวัด 

การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนักด้วยการจับเวลา การวัดระยะทาง การชั่งน้ำหนักหรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน แต่การสอนเรื่องการวัดให้กับเด็กอนุบาล การวัดจะไม่มีหน่วย

จากภาพต่อไปนี้ คือ เด็กสูงเท่ากับตุ๊กตา 3 ตัว เรียนต่อกัน 




กลุ่มที่ 3 นำเสนอ เรื่อง พีชคณิต

         เป็นสาขาหนึ่งในสามสาขาหลักทางคณิตศาสตร์ ร่วมกับเลขาคณิตและการวิเคราะห์ พีชคณิตเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง ความสัมพันธ์ และจำนวน 
พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย คือ รูปแบบ และความสัมพันธ์ในรูปแบบที่มีรูปร่างขนาด หรือสีที่ สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

           ตัวอย่าง การจำแนกสี ของเด็ก

                  
                                  


กลุ่มที่ 4 นำเสนอ เรื่อง เรขาคณิต

          การสอนเรื่องรูปร่าง และรูปทรง เด็กจะได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัส และกล้ามเนื้อของตัวเอง 
- ช่วยให้เด็กรู้จักการสังเกต รู้จักค้นคว้า และแก้ไขปัญหาได้ 
- ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้น เด็กได้รู้จักรูปร่าง รูปทรง สิ่งต่างๆ รอบตัว  
- พัฒนาการคิดตามวัยของเด็ก เด็ก 5 ขวบ สามารถคิดสร้างสิ่งต่างๆ จากวัตถู เช่น      บล็อครูปทรง สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม

      ครูควรจัดการเรียนรู้ ให้เด็กได้เรียนรู้รูปร่ง รูปทรง เช่น มุมบล็อค มุมบทบาทสมมุต มุมหนังสือ มุมเครื่องเล่นสำผัส เป็นต้น 

กิจกรรม เล่นกลางแจ้ง รูปร่าง รูปทรง 





มุมบล็อค





กลุ่มที่ 5 นำเสนอ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น 

       การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบ และจำแนก หรือแบ่งเป็นกลุ่มที่มีความคล้ายกัน และกลุ่มที่มีความแตกต่างกันออกไป โดยสามารถจำแนกออกเป็น ตาราง กราฟ แผนภูมิ ได้ เป็นต้น




                         จากภาพ เป็น กิจกรรม การนำชื่อของตนเอง มาใส่ให้ตรงกับพยัญชนะ 
        ตัวแรกของชื่อเด็กๆ จะได้ทราบข้อมูล เป็นกราฟแท่ง ซึ่งเด็กจะได้รู้จักการวิเคราะห์ 
       และการจำแนก ได้ถูกต้อง 


ความรู้ที่ได้รับ และการนำไปใช้ 

                 การจัดการรียนการสอน ในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เด็กจะเรียนรู้จากการเล่น การที่เด็กได้มีประสบการณ์ ได้ปฏิบัติ และสำผัสจริง เช่นการนับ เด็กก็จะต้องนับจากของจริง สำผัสได้  การวัดเด็กก็จะวัดสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ซึ่งจะไม่มีหน่วยมาตรฐาน   การจำแนกสี   การเรียนรู้ รูปร่างรูปทรง  ซึ่งครูจะต้องจัดกิจกรรม หรือจัดมุมเสริมประสบการณ์ต่างๆ  เช่นจัดกิจกรรมกลางแจ้ง การเรียนรู้นอกห้องเรียน เพื่อ ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ครอบคลุมพัฒนาการครบทุกด้าน ไปตามวัย

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 3


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 3
วัน พฤหัสบดีที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


ความรู้ที่ได้รับ     การวัดประเมินเด็ก ต้องวัดกระบวนการคิดของเด็ก
                          คำตอบของเด็กไม่ได้มีคำตอบเพียงคำตอบเดียว 
                              
        

 จุดมุ่งหมาย ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


                         =>  สอนให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ 
                         =>  สอนเพื่อพัฒนามโนภาพ 
                         => ให้เด็กรู้จักใช้กระบวนการคิด
                         => ให้เด็กได้ฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
                         => ให้แนวทาง ให้คำถามปลายเปิด ให้เด็กได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 


1. การสังเกตุ (Observation) => การใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง


                 จากภาพ จะให้เด็ก ได้สังเกตจากสิ่งที่เห็น อาจใช้คำถามว่า 
" หนูเห็นอะไร จากภาพนี้ "

เป็นการใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้เด็กได้ใช้กระบวนการคิด ได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง 


2. การจำแนกประเภท (Classifying)  => มี 3 เกณฑ์  => ความเหมือน
                                                                               => ความต่าง
                                                                               => ความสัมพันธ์ 
                                                                                   




จากภาพ เด็กสามารถจำแนกประเภทได้หลายรูปแบบ ดังนี้ 



     =>  การจำแนกสี                                                    

  =>  การจำแนกลักษณะรูปร่าง 




  => การจำแนกทั้งสี และรูปร่าง 



3. การเปรียบเทียบ (Comparing) => เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ ของสิ่งของ หรือเหตุการณ์ ตั้งแต่2สิ่งขึ้นไป



4. การจัดลำดับ (Ordering) => เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง มีการจัดลำดับสิ่งของ หรือเหตุการณ์ 




5. การวัด (Measurment) => มีความสัมพันธ์ การความสามารถในการอนุรักษ์ ได้แก่ การวัด อุณหภูมิ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เป็นต้น
การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด 
=> เด็กสูง 2 ไม้บรรทัด , สูงเท่ากับตุ๊กตา 3 ตัวเรียงซ้อนกัน , ระยะทางเดิน 5 ก้าว




การวัดเชือก เด็กจะได้สัมผัสจริง คือได้ยืดให้เส้นที่โค้งๆ ตรงก่อน แล้วจึงวัดว่าเส้นไหน ยาวกว่ากัน 


6. การนับ (Counting) =>  เด็กชอบการนับแบบท่องจำ โดยยังไม่เข้าใจความหมาย การนับแบบท่องจำนี้ จะมีความหมายก็ต่อเมื่อ ได้เชื่องโยงกับวัตถุประสงค์ บางอย่าง เช่น การนับว่าวันนี้มีเพื่อนๆ มาเรียนกี่คน
สื่อการนับ ^^


7. รูปทรง และขนาด (Sharp and Size) => เด็กส่วนใหญ่ รู้จักรูปร่าง,รูปทรง,ขนาด มาก่อนที่จะเข้าโรงเรียน




กิจกรรมในวันนี้

                   วาดวงกลม 1 วง ลงในกระดาษ แล้วเขียนตัวเลข ที่เราชอบลงไปในวงกลม จากนั้น ตัดกลีบดอกไม้มาแปะ ตามจำนวนตัวเลขที่เขียนลงไป พร้อมตกแต่งให้สวยงาม

                                          
ผลงานวันนี้ ค่ะ  ดอกไม้ 8 กลีบ สีสันสลับกัน  ^^ 



สิ่งที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้ 

              ทราบถึงจุดมุ่งหมาย และทักษะของการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรม ให้เด็กได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ได้คิด ได้ค้นคว้าด้วยตนเอง เช่น การจัดกิจกรรม ดอกไม้่ในวันนี้ เด็กจะได้คิด ถึงตัวเลขที่เขาชอบ ได้รู้จักเขียนตัวเลขลงไป ได้ตัดกลีบของดอกไม้ และนับจำนวนกลีบดอกไม้ ให้ครบตามจำนวนที่เขียนลงไป เป็นการจัดการเรียนการสอน ไปพร้อมกับการเล่น การทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เด็กจึงเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม














วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดีที่ 14 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556

         ความรู้ที่ได้รับ   คณิตศาสตร์ หมายถึง ระบบการคิดของมนุษย์ อย่างมีเหตุผล เพื่อศึกษา และอธิบายความสำพันธ์ ของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ โดยใช้สัญลักษณ์ืการพูด การเขียน และการเรียนรู้ 

       
ความสำคัญของคณิตศาสตร์  

                1. เกี่ยวข้อง และสำพันธ์กับชีวิตประจำวัน
                2.ส่งเสริมกระบวนการคิด และแก้ปัญหา โดยเฉพาะหลักการทางคณิตศาสตร์
                3. เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงาน และประเมินผล
                4. เป็นพื้นฐาน ในการเรียนรู้ในวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ และ                                     เทคโนโลยี 


ทฤษฎีสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ตามความคิดของเพียร์เจต์

1. ขั้นพัฒนาด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage)  แรกเกิน - 2ปี
                          >> เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
                          >> สามารถจดจำสิ่งต่างๆ บอกลักษณะของวัตถุได้

2. ขั้นเตรียมการคิดที่มีเหตุผล  (Preoperational Stage)  2-7 ปี
                          >> ใช้ภาษาพูด แสดงความรู้ความคิด 
                          >> เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง และความยาว 
                          >> เล่นบทบาทสมมุติ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความเข้าใจ
          ในสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น จำนวน ตัวเลข ตัวอักษร คำที่มีความหมาย 
                          >> เด็กจะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกต และรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด 
                          >> ไม่สามารถคงความคิดสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพกายภาพ                                                    เปลี่ยนแปลง เด็กก็ไม่สามารถ สั่งสมความคิดไว้ได้ 
                         


< การอนุรักษ์ Conservation >

เด็กสามารถพัฒนา การอนุรักษ์ได้โดย
                                                             - การนับ
                                                             - การจับคู่ หนึ่ง ต่อ หนึ่ง 
                                                             - การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร 
                                                             - เรียงลำดับ 
                                                             - จัดกลุ่ม

                                                             - เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย
                                                             - ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ 
                                                             - ใช้คำถามปลายเปิด 
                                                             - เชื่อมโยงคณิตศาสตร์ ในชีวิตประจำวัน

                   กิจกรรมในวันนี้ คือ ให้นักศึกษา วาดภาพสัตว์ ที่มีขาหลายๆขา จากนั้นก็ให้ใส่รองเท้าให้สัตว์ที่ตนเองวาด โดยตัดกระดาษสีทำเป็นรองเท้าแล้วแปะลงตรงส่วนที่เป็นเท้า
                   สำหรับกิจกรรมนี้ เด็กจะได้ฝึกการนับจำนวนขา ได้จับคู่ โดยการติดรองเท้า ได้รู้จักรูปร่าง รูปทรง ซึ่งเด็กจะได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ไปกับการทำกิจกรรม โดยที่เขาไม่รู้ตัว และสามาบูรณาการ สอนเกี่ยวกับเรื่องสัตว์ ได้ฝึกทักษะด้านศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ การวาดภาพ ระบายสี และตัดแปะ  พัฒนาด้านอารมณ์ เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กสนุกสนาน พัฒนาการด้านสังคม คือเด็กจะได้มีปฏิสัมพันธ์ พูดคุยกับเพื่อนๆ และครู

ดิฉันจึงวาดภาพตะขาบ มี 32 ขา





การนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ 

                  การสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ไม่ใช่การเขียนบนกระดาน  เช่น  1 +1 = 2 
เพราะเด็กจะเข้าใจจากสิ่งที่เขาเห็น การเรียนรู้ที่ดีจึงควรให้เด็กได้ทดลอง และสัมผัสจริง เช่น 

การดูปริมาณน้ำของแก้วน้ำ 2 ใบ  ให้เด็กได้ทดลอง เทน้ำเอง 


                           


 การนับจำนวนก้อนหิน  นำก้อนหินจริงๆ มาให้เด็กนับจำนวน

 


                 ซึ่งคำถามของครู จะต้องเป็นคำถามปลายเปิด เช่น "หนูเห็นอะไรจากแก้วน้ำ 2 ใบนี้"  ซึ่งคำตอบของเด็ก ไม่มีผิด  แต่ถ้าครูถามว่า "แก้วน้ำใบไหนมีน้ำมากกว่า" ซึ่งเป็นคำถามปลายปิด จะทำให้เด็กขาดกระบวนการคิด เกิดความไม่แน่ใจในการตอบ  และถ้าเขาตอบผิด เขาก็จะไม่กล้าแสดงความคิด ในการตอบคำถาม หรือเป็นเด็กที่ขาดความมั่นใจ 







วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 1

วันพฤหัสบดี ที่ 7  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ.2556

                    กิจกรรมในวันนี้ คือ ให้นักศึกษาเขียนแผนผังความคิด ในหัวข้อ                                                   "การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย"
                                       ตามความคิด และความรู้เดิมของตนเอง




ความรู้ที่ได้รับ 
          เด็กปฐมวัยเรียนรู้ได้จาก การเล่น และประสบการณ์ตรง  เพื่อพัฒนาการ อย่างครบถ้วน ทั้้ง ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การจัดการเรียนในวิชา คณิตศาสตร์ จีงต้องสอนผ่านการทำกิจกรรม การเล่น โดยการใช้สื่อ และการสอนนอกห้องเรียน สามารถพาไปเรียนรู้ของจริง เช่น ไปตลาด หรือไปห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
         เด็กควรได้เรียนรู้ในเรื่อง  ตัวเลข การนับจำนวนสิ่่งของ รูปร่าง - รูปทรง  ปริมาณ การเรียงลำดับ การวัดระยะทาง วัดขนาด เรียนรู้เรื่องนาฬิกา บอกเวลา  การบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น

การนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้
           เทคนิคการสอนวิชา คณิตศาสตร์ให้ดี คือการสอนโดยที่เด็กไม่รู้ตัว เพราะเด็กจะเรียนรู้ผ่านกระบวนการการเล่น จากกิจกรรมที่จัดขึ้น เช่น เมื่อพาเด็กๆ ไปตลาด อันดับแรกคือ เด็กได้รู้จักราคาสินค้า ได้นับเงิน  นับจำนวนสินค้า ขนาด ปริมาณ การชั่งตาชั่ง  การจ่ายเงิน และรับเงินทอน ซึ่งเป็นประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้น เด็กได้เรีนยรู้ของจริง โดยที่เด็กไม่รู้ตัว เป็นเทคนิคที่สามารถนำไปใช้สอนได้ ค่ะ 

สื่อนิทาน ชวนน้องๆ อ่าน พร้อมแบบฝึกเสริมสร้างทักษะทางด้านคณิตศาสตร์



...มานับจำนวนกัน...