วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 10 

วันพฤหัสบดีที่ 30 เดือน มกราคม พ.ศ. 2557

กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้ คือ
 การนำเสนอ สื่อการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สื่อการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  => ทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะ การคิดทางคณิตศาสตร์ ไป                                                             พร้อมกับการเล่น และเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ 


ชื่อสื่อ => นับเลข บอกจำนวน
วิธีการเล่น => ให้เด็ก หยิบบัตรตัวเลข มาเรียงตามลำดับ 1 - 10 
                      และเรียงจำนวน ของปลา 1 - 10 ตัว 
               หรือ ครูอาจจะวาง ตัวเลขไว้เป็นบางตัวเลข แล้วให้เด็กนำตัวเลข
                      ที่ครูยังไม่ได้วาง มาวางเรียงลำดับได้อย่างถูกต้อง 
               หรือ เด็กอาจจะเรียงจาก มาก- น้อย หรือ น้อย - มาก ก็ได้ 
ผลจากการทดลอง =>  สื่อชิ้นนี้เหมาะสำหรับเด็ก 4 ขวบ ซึ่งเด็ก 3 สามารถเรียง
                                      ตัวเลขได้ แต่อาจจะยังไม่สามารถ นับจำนวนปลาได้ทั้งหมด
ปัญหาที่พบ => วัสดุของสื่อ คือ กาวที่ติด กับตีนตุ๊กแก ติดได้ไม่ค่อยคงทน เมื่อเด็ก
                        ดึงแรงๆ หรือเล่นแรงๆ ก็อาจหลุดได้ง่าย



    





วีดีโอ  โดย เด็กหญิง มุนา เซ็นติยะนนท์  อายุ 3 ขวบ




สื่อการเรียนรู้ ที่ชื่นชอบ 

เพราะ มีไอเดียน่ารักๆ และนำฝา วัสดุเหลือใช้ที่ มักจะทิ้งกัน มาสร้างเป็นสื่อการเรียนรู้

 ที่มีสีสันสดใส ทำให้เด็กๆ เกิดความสนใจในการเล่น 


ความรู้ที่ได้รับ

                เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในการทำสื่อการเรียนการสอน ในวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ที่หลากหลายรูปแบบ และได้ทราบถึงลักษณะของสื่อ ที่เหมาะกับเด็ก คือ ต้องมีสีสันสดใส ขนาดที่เหมาะกับเด็ก ไม่ใหญ่ หรือเล็กเกินไป วัสดุที่ใช้ทำสื่อต้องปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก และวัสดุที่ใช้ควรมีความแข็งแรง ทนทาน  ได้ทราบว่าสื่อแบบไหนที่เหมาะกับ พัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย 

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9 

วันพฤหัสบดีที่ 23 เดือนมกราคม พ.ศ.2557

                  กิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้ คือให้นักศึกษา ฝึกการเขียนแผน

 การจัดประสบการณ์ การเรียนการสอน  ซึ่งการเขียนแผนในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย นั้นเป็นการสอดแทรกในกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมกลางแจ้ง,                     กิจกรรมเคลื่อนไหว  ซึ่งเป็นการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ ลงไปในการจัดกิจกรรมในการเขียนแผน

ตัวอย่าง การจัดกิจกรรมกลางแจ้ง ที่สามารถบูรณาการสอดแทรกวิชาคณิตศาสตร์

เขียนแผนเป็นกลุ่ม 





เขียนแผนเดี่ยว






ความรู้ที่ได้รับ 

                   ได้รู้จักขั้นตอน และวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการจัดกิจกรรม ที่ได้สอดแทรก ทักษะ และการคิดทางคณิตศาสตร์ สามารถนำมาประยุกต์ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้  เช่น กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง   => การแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม , การเข้าแถวเรียงลำดับ ,การวิ่งซิกแซก , การเลียนแบบท่าทาง หรือการเปรียบเทียบขนาดของลูกบอล เป็นต้น ซึ่งเด็กจะได้เรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม ^^ 
                                                               






วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8 

วันพฤหัสบดี ที่ 16 เดือนมกราคม พ.ศ. 2557

กิจกรรมในวันนี้ คือ หนอนน้อย ,การเปรียบเทียบ ,แผนภูมิแท่ง
 และ แผนภูมิวงกลม 


หนอนน้อย => เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการตัด-แปะ รูปร่างเรขาคณิต หรือรูปร่างต่างๆ เช่น สัตว์, ผลไม้, ดอกไม้ เป็นต้น เด็กได้เรียนในเรื่อง พีชคณิต คือเด็กเรียนรู้การเรียงลำดับของรูปร่าง และสี ได้อย่างถูกต้อง 




ตารางการเปรียบเทียบ => เด็กได้รู้จักการเปรียบเทียบของสิ่งต่างๆ เช่น ความต่างของสัตว์บกกับสัตว์น้ำ




แผนภูมิแท่ง =>  เด็กได้สำราจความชอบของตนเอง และเพื่อนๆ เช่น สีที่หนูชอบ, ร่มแบบไหนที่หนูชอบ เป็นต้น แล้วให้เด็กออกมาเขียนชื่อของตนเอง ลงในช่องของสิ่งที่เขาชอบ 



แผนภูมิวงกลม => เด็กได้คิดวิเคราะห์ ความเหมือน และความต่าง เช่น เรือกับเครื่องบิน แล้วให้เด็กๆ บอกถึงลักษณะต่างๆระหว่างเรือกับเครื่องบิน 




ความรู้ที่ได้รับ และการนำไปประยุกต์ใช้

             ในการทำหนอนน้อย ครูให้เด็กๆ ตัดรูปร่างเรขาคณิต หรือรูปร่างต่างๆที่เขาชอบ ตามจินตนาการ หลายรูป หลายสี และให้เด็กๆ แปะลงไปเป็นตัวหนอน โดยเรียงลำดับของรูปร่าง และสี เพื่อฝึกทักษะการเรียงลำดับ ในการทำกิจกรรมนี้เด็กได้พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการตัด และแปะกระดาษ ได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ และครู  ได้ใช้ความคิดในการจัดเรียงลำดับรูปร่าง และสี  ได้ใช้จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาให้มีอารมณ์ที่ดี ในการทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน 
             

ตารางเปรียบเทียบ, แผนภูมิแท่ง และแผนภูมิวงกลม กิจกรรมนี้ครูจะเขียนตาราง วาดแผนภูมิ มาให้เด็กๆ ได้คิดวิเคราะห์  การจำแนกประเภท การเปรียบเทียบความเหมือนกับความต่าง โดยครูเขียนไปตามสิ่งที่เด็กตอบ และครูต้องเขียนสรุปเพื่อให้เด็กได้เข้าใจมากขึ้น เช่น  สัตว์บก ได้แก่ ไก่, สุนัข, แรด, เสือดาว   
                             สัตว์น้ำ เช่น ปลาดาว, ปลาไหล, ปลิง, หอย

หรือ                      สีที่เด็กๆชอบมากที่สุด คือ สีเหลือง  มีจำนวน 6 คน
                            สีที่เด็กๆชอบน้อยที่สุด คือ สีม่วง      มีจำนวน 2 คน

             การทำสถิติ ในการรวบรวมข้อมูลของเด็ก ครูควรเขียนวันที่ไว้ด้วย เพื่อทำให้เด็กทราบว่ากิจกรรมนี้ เขาได้ทำในวันไหน 
            การตอบของเด็ก อาจจะแย่งกันตอบบ้าง ครูต้องคุมให้เด็กตอบทีละคน อย่าให้เด็กแย่งกันตอบ เด็กจะรู้จักฟังเพื่อนตอบให้จบก่อน และรู้จักการรอคอย 


วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 7


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดีที่ 9  เดือนมกราคม พ.ศ.2557


วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา แต่งนิทาน และทำหนังสือนิทาน ร่วมกัน

นิทาน เรื่อง สามเกลอเจอแก๊ส

                กาลครั้งหนึ่ง มีเพื่อน 3 สหาย ชื่อว่า เจ้าวงกลม สามเหลี่ยม และสี่เหลี่ยม ทั้ง 3 คนมีบุคคลิกที่แตกต่างกัน เจ้าสามเหลี่ยมมีอารมณ์ที่ขี้โมโห เจ้าสี่เหลี่ยมเป็นคนใจกว้าง และเจ้าวงกลมเป็นคนเจ้าชู้ วันหนึ่งเพื่อน 3 คนนี้ไปเที่ยวผับกัน แต่พอเข้าไปแล้วเจ้าสามเหลี่ยมก็เกิดความหงุดหงิด เพราะที่นั่นเสียงดัง เจ้าสี่เหลี่ยมก็อยู่เฉยๆ ไม่สนใจใยดี ส่วนเจ้าวงกลมมัวแต่ไปจีบสาวอยู่  คนในผับกำลังคาวท์ดาวอยู่ แต่แล้วก็มีแก๊สน้ำตาโยนเข้ามาในผับ เจ้าสี่เหลี่ยมเป่านกหวีดเรียก บอกให้เพื่อนๆ อยู่ในความสงบ เจ้าวงกลมตะโกนบอกเพื่อนๆ ให้เอาผ้าปิดจมูก สามเหลี่ยมวิ่งออกไปจับคนที่ขว้างแก๊สน้ำตา และทุกคนก็แยกย้ายกลับบ้าน

  







นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ให้มีสติ เมื่ออยู่ในภาวะขับขัน


ความรู้ที่ได้รับและ การนำไปประยุกต์ใช้

                เด็กได้ใช้ความคิด และจินตนาการในการแต่งนิทาน อย่างอิสระ ได้เข้าใจเรื่องรูปทรง รู้จักสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม และวงกลม พัฒนาการด้านสังคมเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ 
                เมื่อเด็กได้พูด หรือแต่งเรื่องราวขึ้นมาแล้ว ครูไม่ต้องไปเปลี่ยน หรือปรับแก้คำพูดเรื่องราวของเด็ก ให้เขียนไปตามที่เด็กพูด เป็นการเรียนการสอนที่สามารถสอดแทรกคณิตศาสตร์ และการใช้ภาษา เข้าไป ในการสอน



วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6

วัน พฤหัสบดี ที่ 12 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556

    ความรู้ที่ได้รับ   คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย 
                            1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
                                - นับจำนวน 1-20 ได้ 
                               - เข้าใจหลักการ การนับ
                               - รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิค และเลขไทย
                               - รู้จักค่าของจำนวน เงิน 
                               - สามารถเปรียบเทียบเรียงลำดับ ได้
                               - รู้จักการรวม และการแยกกลุ่ม
                           2. มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก 
                               ปริมาตร   เงิน และเวลา                                                                            - การเปรียบเทียบเรียงลำดับ และวัดความยาว                                                     น้ำหนัก ปริมาตร                                                                                      - รู้จัก เงิน เหรียญ และธนบัตร                                                                       - เข้าใจเกี่ยวกับเวลา และคำที่ใช้บอกช่วงเวลา เช่น เช้า                                     สาย บ่าย  เย็น ค่ำ หรือ บอกกลางวัน กลางคืน 

                           3. มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต 
                              - ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง 
                              - รูปเรขาคณิต สามมิติ และรูปเรขาคณิต สองมิติ
                           4. มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูป ที่มีรูปร่าง ขนาด สี 
                               ที่สัมพันธ์อย่างใด อย่างหนึ่ง 
                           5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูล ในรูปแบบ 
                              แผนภูมิอย่างง่าย 
                           6. มีทักษะ และกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็น 

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ (Number and Operations)

                          ใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ  การอ่าน และการเขียน
            ตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย การเปรียบเทียบจำนวน การเรียงลำดับ  จำนวน การคิด และการแยกกลุ่ม 


จากภาพ เด็ก สามารถบอกได้ถึงจำนวนของตุ๊กตาหมี และตุ๊กตากระต่าย ว่าไม่เท่ากัน 


จากภาพ เด็กสามารถบอกจำนวนของตุ๊กตาหมี และตุ๊กตากระต่ายที่วางรวมกันได้ 

สาระที่ 2 การวัด(Measurement)

                           เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

                   จากภาพการตวงเพื่อวัดปริมาตร การชั่งของเด็กจะไม่มีหน่วย แต่เป็นการเปรียบเทียบความหนัก หรือความเบาได้  รู้จักค่าของเงินเหรียญ และธนบัตร  บอกช่วงเวลาในแต่ละวัน  , ชื่อวันในสัปดาห์ และคำที่ใช่บอกเกี่ยวกับวัน  เช่น วันนี้ , พรุ่งนี้ ,  เมื่อวานนี้  เป็นต้น 

สาระที่ 3 เรขาคณิต (Geometry)

                           รู้จักการใช้คำศัพท์ ในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
   รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิต ที่เกิดขึ้นจากการกระทำ


รูปร่างสามมิติ 


การเปลี่ยนแปลง >> การพับครึ่ง 



การรวม >> เกิดจากการนำมาต่อกัน 


เด็กเข้าใจได้ว่า เป็นภาพที่ซ้อนกัน 

สาระที่ 4 พีชคณิต (Algebra)

                           เข้าใจแบบรูป และความสัมพันธ์ 
               แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง


ความสัมพันธ์กัน ระหว่างวงกลม สีชมพู และสีฟ้า  เป็นการจัดวางสลับสี เพื่อหาความสัมพันธ์




เด็กสามารถเข้าใจ สิ่งที่สัมพันธ์กัน ได้ 

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น (Data Analysis and Probability)

                         รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
เช่น ในห้องเรียน มีนักเรียนชาย กี่คน มีนักเรียนหญิงกี่คน ,หนูมีตากี่ดวง , หนูกับเพื่อนมีขารวมกันกี่ขา เป็นต้น 

สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 

                       มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ 


ผลงาน น้องแมวเหมียวแป้นแล้น หน้ากล๊มกลม ^^






การนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ 

          สามารถจัดกิจกรรม ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ให้กับเด็กปฐมวัย เช่น กิจกรรมในวันนี้ คือ การนำรูปทรงเรขาคณิต มาสร้างสรรค์ เป็นภาพสัตว์น่ารักๆ ตามจินตนาการของเด็กๆ        เด็กได้รู้จัก รูปทรงต่างๆ สีและขนาด ของรูปทรง  ความเข้าใจในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความสัมพันธ์ กับพัฒนาการทางความคิดของเด็กปฐมวัย เด็กได้้เรียนรู้คณิตศาสตร์ไปพร้อมกับการเล่น การทำกิจกรรม เพื่อเป็นการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ










วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5 

วันพฤหัสบดีที่ 5 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็น  "วันพ่อแห่งชาติ "




วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 4



บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดี ที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556

ความรู้ที่ได้รับ วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา แต่ละกลุ่ม ออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน

กลุ่มที่ 1 นำเสนอ เรื่อง จำนวน และการดำเนินการ

จำนวน    หมายถึง    ปริมาณของสิ่งของต่างๆ จำนวนสามารถแสดงได้ด้วยตัวเลข รูปภาพ   หรือสัญลักษณ์
การดำเนินการ    หมายถึง   การกระทำ หรือลำดับขั้นตอน ที่สร้างค่าใหม่ ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์ 
จำนวน และการดำเนินการ   หมายถึง ความคิดรวบยอด และความรู้สึก เชิงจำนวน

คุณภาพ ทางคณิตศาสตร์ ของเด็กอายุ 3-5 ปี 

   1. มีความรู้ความเข้าใจ และมีพัฒนาการด้านความรู้เชิงจำนวน
   2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
      และเวลาสามารถเปรียบเทียบได้
   3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง
      และแสดงของสิ่งต่างๆ
   4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กัน
   5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูล


ภาพตัวอย่าง กิจกรรม นับจำนวนของดินสอ


เด็กสมารถนับจำนวนดินสอได้ ว่ามีจำนวนกี่แท่ง


เลุ่มที่ 2 นำเสนอ เรื่อง การวัด 

การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนักด้วยการจับเวลา การวัดระยะทาง การชั่งน้ำหนักหรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน แต่การสอนเรื่องการวัดให้กับเด็กอนุบาล การวัดจะไม่มีหน่วย

จากภาพต่อไปนี้ คือ เด็กสูงเท่ากับตุ๊กตา 3 ตัว เรียนต่อกัน 




กลุ่มที่ 3 นำเสนอ เรื่อง พีชคณิต

         เป็นสาขาหนึ่งในสามสาขาหลักทางคณิตศาสตร์ ร่วมกับเลขาคณิตและการวิเคราะห์ พีชคณิตเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง ความสัมพันธ์ และจำนวน 
พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย คือ รูปแบบ และความสัมพันธ์ในรูปแบบที่มีรูปร่างขนาด หรือสีที่ สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

           ตัวอย่าง การจำแนกสี ของเด็ก

                  
                                  


กลุ่มที่ 4 นำเสนอ เรื่อง เรขาคณิต

          การสอนเรื่องรูปร่าง และรูปทรง เด็กจะได้ฝึกการใช้ประสาทสัมผัส และกล้ามเนื้อของตัวเอง 
- ช่วยให้เด็กรู้จักการสังเกต รู้จักค้นคว้า และแก้ไขปัญหาได้ 
- ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้น เด็กได้รู้จักรูปร่าง รูปทรง สิ่งต่างๆ รอบตัว  
- พัฒนาการคิดตามวัยของเด็ก เด็ก 5 ขวบ สามารถคิดสร้างสิ่งต่างๆ จากวัตถู เช่น      บล็อครูปทรง สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม

      ครูควรจัดการเรียนรู้ ให้เด็กได้เรียนรู้รูปร่ง รูปทรง เช่น มุมบล็อค มุมบทบาทสมมุต มุมหนังสือ มุมเครื่องเล่นสำผัส เป็นต้น 

กิจกรรม เล่นกลางแจ้ง รูปร่าง รูปทรง 





มุมบล็อค





กลุ่มที่ 5 นำเสนอ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น 

       การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบ และจำแนก หรือแบ่งเป็นกลุ่มที่มีความคล้ายกัน และกลุ่มที่มีความแตกต่างกันออกไป โดยสามารถจำแนกออกเป็น ตาราง กราฟ แผนภูมิ ได้ เป็นต้น




                         จากภาพ เป็น กิจกรรม การนำชื่อของตนเอง มาใส่ให้ตรงกับพยัญชนะ 
        ตัวแรกของชื่อเด็กๆ จะได้ทราบข้อมูล เป็นกราฟแท่ง ซึ่งเด็กจะได้รู้จักการวิเคราะห์ 
       และการจำแนก ได้ถูกต้อง 


ความรู้ที่ได้รับ และการนำไปใช้ 

                 การจัดการรียนการสอน ในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เด็กจะเรียนรู้จากการเล่น การที่เด็กได้มีประสบการณ์ ได้ปฏิบัติ และสำผัสจริง เช่นการนับ เด็กก็จะต้องนับจากของจริง สำผัสได้  การวัดเด็กก็จะวัดสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ซึ่งจะไม่มีหน่วยมาตรฐาน   การจำแนกสี   การเรียนรู้ รูปร่างรูปทรง  ซึ่งครูจะต้องจัดกิจกรรม หรือจัดมุมเสริมประสบการณ์ต่างๆ  เช่นจัดกิจกรรมกลางแจ้ง การเรียนรู้นอกห้องเรียน เพื่อ ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ครอบคลุมพัฒนาการครบทุกด้าน ไปตามวัย